ผลงาน

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทความสารสนเทศในยุคปฏิรูปการศึกษา

สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบันเรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกะและความสมเหตุสมผล เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ สารสนเทศที่มีคุณภาพ
ข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีคุณภาพ ทั้งในด้านความถูกต้อง มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตอบสนองผู้ใช้ได้ ทันเหตุการณ์ จึงควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
1. มีการตรวจสอบความถูกต้อง (Verifiability)
2. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
3. มีความสมบูรณ์และครอบคลุม (Comprehensiveness) เพียงพอที่จะใช้ตัดสินใจ
4. มีความชัดเจน (Clarity) ไม่ต้องตีความ แต่มีความกะทัดรัดได้ใจความ
5. มีความเกี่ยวข้องตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)
6. มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ปรับใช้ได้ในหลายสถานการณ์
7. ใช้ได้ง่าย รวดเร็ว (Accessibility)
8. สามารถจัดระบบตั้งแต่การเตรียมข้อมูลนำเข้า การประมวลผล และนำผลรายงานในเวลาที่ทันต่อเหตุการณ์ (Timeliness)

การจัดระบบสารสนเทศ
จำแนกออกเป็น 3 ระบบ พอสรุปได้ดังนี้
1. ระบบทำด้วยมือ (Manual System)
2. ระบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi - Automation)
3. ระบบอัตโนมัติ (Full - Automation)
การจัดทำระบบสารสนเทศในสถานศึกษา มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลและ
สารสนเทศประกอบการวางแผนตัดสินใจกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตลอดจนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นสามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาและนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การใช้ข้อมูลและสารสนเทศของบุคลากรแต่ละระดับจึงมีลักษณะและปริมาณที่แตกต่างกันไป ในการจัดการบริการทางการศึกษาของประเทศไทยนั้น กระทำอยู่ทำกลางข้อมูลจำนวนมาก แต่ข้อมูลจำนวนมากมายเหล่านั้นไม่อาจก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใดหากไม่ได้รับการจัดระบบที่ดี และมีความเหมาะสม
1. ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
- ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับภาพรวมของโรงเรียน
- สภาพเศรษฐกิจการเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน
- สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ
- ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา
- ระบบเอกสารที่จำเป็นในสถานศึกษา
2 ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับเขตบริการของโรงเรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับสำมะโนนักเรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการนักเรียนขาดแคลน เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน แบบเรียน อาหารกลางวัน
- ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและประเภทการบริการด้านสุขภาพอนามัย
- ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการแนะแนว
- ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่าง ๆ
- ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา
- ข้อมูลเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา
- สถิติการมาเรียนของนักเรียน
- จำนวนและอัตราซ้ำชั้นของนักเรียน
- จำนวนและอัตราการออกกลางคันของนักเรียน
- การจัดกิจกรรมชุมนุมของนักเรียน
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แยกเป็นรายชั้นกลุ่มสาระ
- จำนวนประชากรศึกษาในโรงเรียนทั้งหมด
- ยอดรวมของผลการสอบรายปีจำแนกตามระดับชั้น
- สื่อการเรียนการสอนประจำห้องเรียน ประจำโรงเรียน
- จำนวนและประเภทสื่อในห้องสมุด
- ลักษณะการจัดการเรียนการสอน
- ลักษณะและประเภทของการสอนซ่อมเสริม
- ลักษณะและประเภทการนิเทศภายใน
- โครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมทางวิชาการ
- โครงการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
- ข้อมูลตารางสอน แผนการสอน หลักสูตร
- ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากรพิเศษ
- ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงการใช้ห้องสมุด
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปใช้ในหน้าที่การจัดการนั่นคือ การวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ ดังนั้นระบบข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ดังกล่าวของผู้บริหารสถานศึกษาพอสรุปได้ดังนี้
4.1 ข้อมูลต่าง ๆ ที่โรงเรียนจะต้องรายงาน หน่วยงานต้นสังกัดเป็นประจำ
4.2 ข้อมูลในส่วนที่จะนำมาใช้ในการวางแผนของโรงเรียนเช่น
- นักเรียน แยกตามเพศ อายุ รายชั้น
- บุคลากร ครู แยกตามระดับ ตำแหน่ง วุฒิ วิชาเอก วิชาที่สอน
- วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ อาคารเรียน ขนาดของห้องเรียน
- งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร/ประเภท
- จำนวนเด็กนักเรียนในเขตบริการ
- อาชีพในท้องถิ่น วิทยากรท้องถิ่น สถานประกอบการ
- ข้อมูลด้านตลาดแรงงาน
- สภาพปัจจุบันของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ/ สังคม /กฎหมายต่าง ๆ
- ปัญหาความต้องการของโรงเรียน/ชุมชน / ท้องถิ่น ตามกรอบนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
- ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของกระบวนการเรียนการสอน
- ข้อมูลที่แสดงระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
4.3 ข้อมูลสารสนเทศด้านการวัดและประเมินผล
- ผลการสอบเป็นรายวิชา
- จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับคะแนนต่าง ๆ ตามรายวิชา
- การสอบแก้ตัวของนักเรียน
4.4 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินผล
4.5 เครื่องมือการวัดผลประเมินผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น