ผลงาน

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช


รายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการรายงานเชิงประเมินในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการรายงาน
1. เพื่อรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อนำผลจากรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปใช้ในการพัฒนา
3. เพื่อรายงานปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ในการพัฒนาต่อไป
สมมติฐานการรายงาน
- ไม่มี-
ขอบเขตการรายงาน
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการรายงานผลการดำเนินการรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และลูกจ้าง จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 90 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน และลูกจ้าง จำนวน 12 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับประชากร รวมทั้งสิ้นจำนวน 90 คน
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
2.1 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 องค์ประกอบ
2.1.1 การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2.1.2 ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี
2.1.3 ด้านการจัดทำโครงงาน
2.1.4 การจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม

3. ขอบเขตด้านกิจกรรมที่ดำเนินการ

3.1 ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ กิจกรรมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ กิจกรรม การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกและบ่อคอนกรีต กิจกรรมการออมทรัพย์ กิจกรรมบัญชีครัวเรือน
3.2 ด้านสังคม ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมผู้นำนักเรียน
3.3 กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
3.4 ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมหิ้วปิ่นโตไปวัด
4. ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 - 25 กุมภาพันธ์ 2551
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน ใช้แบบประเมินผลการเป็นแบบประเมินที่ผู้รายงานจัดทำขึ้นโดยปรับปรุงมาจากแบบประเมินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีการประเมิน 4 ด้าน แบ่งระดับการประเมินจากการปฏิบัติของโรงเรียน เป็น 5 ระดับ ตามมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert) (สมบูรณ์ สุริยวงศ์,สมจิตรา เรืองศรี และ เพ็ญศรี เศรษฐวงศ์,2543 : 116) คือ
ระดับ 5 หมายถึง ระดับการปฏิบัติมากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง ระดับการปฏิบัติมาก
ระดับ 3 หมายถึง ระดับการปฏิบัติปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง ระดับการปฏิบัติน้อย
ระดับ 1 หมายถึง ระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด
มีรายละเอียดแต่ละด้าน รวม .....ข้อย่อย ดังนี้
2.3 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 องค์ประกอบ
2.3.1 การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 4 ข้อย่อย
2.3.2 ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี จำนวน 4 ข้อย่อย
2.3.3 ด้านการจัดทำโครงการ จำนวน 4 ประเด็น ได้แก่
1. แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านเศรษฐ์กิจ 6 ข้อย่อย
2. แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านสังคม / กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ
1.ด้านศิลปะ จำนวน 3 องค์ประกอบ
2,ด้านดนตรี จำนวน 4 องค์ประกอบ
3.ด้านนาฏศิลป์ จำนวน 3 องค์ประกอบ
4.ด้านกีฬานวน 4 องค์ประกอบ
5.ด้านส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ จำนวน 1 องค์ประกอบ
3. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ข้อย่อย
4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านวัฒนธรรม จำนวน 3 ข้อย่อย
5. ด้านการจัดทำโครงงาน
6. การจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม จำนวน 4 ข้อย่อย

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินและรายงานผลรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
ตอนที่ 1 จำนวนประชากรผู้ตอบแบบประเมินการดำเนินการรายงานระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 90 คน ได้รับแบบประเมินคืนและเป็นฉบับที่สมบูรณ์ทั้งหมด จำนวน 83 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.21 ซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ทางสถิติ

1 ความคิดเห็น: