สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบันเรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกะและความสมเหตุสมผล เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ สารสนเทศที่มีคุณภาพ
ข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีคุณภาพ ทั้งในด้านความถูกต้อง มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตอบสนองผู้ใช้ได้ ทันเหตุการณ์ จึงควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
1. มีการตรวจสอบความถูกต้อง (Verifiability)
2. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
3. มีความสมบูรณ์และครอบคลุม (Comprehensiveness) เพียงพอที่จะใช้ตัดสินใจ
4. มีความชัดเจน (Clarity) ไม่ต้องตีความ แต่มีความกะทัดรัดได้ใจความ
5. มีความเกี่ยวข้องตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)
6. มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ปรับใช้ได้ในหลายสถานการณ์
7. ใช้ได้ง่าย รวดเร็ว (Accessibility)
8. สามารถจัดระบบตั้งแต่การเตรียมข้อมูลนำเข้า การประมวลผล และนำผลรายงานในเวลาที่ทันต่อเหตุการณ์ (Timeliness)
การจัดระบบสารสนเทศ
จำแนกออกเป็น 3 ระบบ พอสรุปได้ดังนี้
1. ระบบทำด้วยมือ (Manual System)
2. ระบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi - Automation)
3. ระบบอัตโนมัติ (Full - Automation)
การจัดทำระบบสารสนเทศในสถานศึกษา มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลและ
สารสนเทศประกอบการวางแผนตัดสินใจกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตลอดจนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นสามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาและนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การใช้ข้อมูลและสารสนเทศของบุคลากรแต่ละระดับจึงมีลักษณะและปริมาณที่แตกต่างกันไป ในการจัดการบริการทางการศึกษาของประเทศไทยนั้น กระทำอยู่ทำกลางข้อมูลจำนวนมาก แต่ข้อมูลจำนวนมากมายเหล่านั้นไม่อาจก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใดหากไม่ได้รับการจัดระบบที่ดี และมีความเหมาะสม
1. ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
- ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับภาพรวมของโรงเรียน
- สภาพเศรษฐกิจการเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน
- สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ
- ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา
- ระบบเอกสารที่จำเป็นในสถานศึกษา
2 ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับเขตบริการของโรงเรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับสำมะโนนักเรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการนักเรียนขาดแคลน เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน แบบเรียน อาหารกลางวัน
- ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและประเภทการบริการด้านสุขภาพอนามัย
- ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการแนะแนว
- ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่าง ๆ
- ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา
- ข้อมูลเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา
- สถิติการมาเรียนของนักเรียน
- จำนวนและอัตราซ้ำชั้นของนักเรียน
- จำนวนและอัตราการออกกลางคันของนักเรียน
- การจัดกิจกรรมชุมนุมของนักเรียน
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แยกเป็นรายชั้นกลุ่มสาระ
- จำนวนประชากรศึกษาในโรงเรียนทั้งหมด
- ยอดรวมของผลการสอบรายปีจำแนกตามระดับชั้น
- สื่อการเรียนการสอนประจำห้องเรียน ประจำโรงเรียน
- จำนวนและประเภทสื่อในห้องสมุด
- ลักษณะการจัดการเรียนการสอน
- ลักษณะและประเภทของการสอนซ่อมเสริม
- ลักษณะและประเภทการนิเทศภายใน
- โครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมทางวิชาการ
- โครงการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
- ข้อมูลตารางสอน แผนการสอน หลักสูตร
- ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากรพิเศษ
- ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงการใช้ห้องสมุด
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปใช้ในหน้าที่การจัดการนั่นคือ การวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ ดังนั้นระบบข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ดังกล่าวของผู้บริหารสถานศึกษาพอสรุปได้ดังนี้
4.1 ข้อมูลต่าง ๆ ที่โรงเรียนจะต้องรายงาน หน่วยงานต้นสังกัดเป็นประจำ
4.2 ข้อมูลในส่วนที่จะนำมาใช้ในการวางแผนของโรงเรียนเช่น
- นักเรียน แยกตามเพศ อายุ รายชั้น
- บุคลากร ครู แยกตามระดับ ตำแหน่ง วุฒิ วิชาเอก วิชาที่สอน
- วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ อาคารเรียน ขนาดของห้องเรียน
- งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร/ประเภท
- จำนวนเด็กนักเรียนในเขตบริการ
- อาชีพในท้องถิ่น วิทยากรท้องถิ่น สถานประกอบการ
- ข้อมูลด้านตลาดแรงงาน
- สภาพปัจจุบันของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ/ สังคม /กฎหมายต่าง ๆ
- ปัญหาความต้องการของโรงเรียน/ชุมชน / ท้องถิ่น ตามกรอบนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
- ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของกระบวนการเรียนการสอน
- ข้อมูลที่แสดงระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
4.3 ข้อมูลสารสนเทศด้านการวัดและประเมินผล
- ผลการสอบเป็นรายวิชา
- จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับคะแนนต่าง ๆ ตามรายวิชา
- การสอบแก้ตัวของนักเรียน
4.4 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินผล
4.5 เครื่องมือการวัดผลประเมินผล
วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553
แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช
รายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการรายงานเชิงประเมินในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการรายงาน
1. เพื่อรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อนำผลจากรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปใช้ในการพัฒนา
3. เพื่อรายงานปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ในการพัฒนาต่อไป
สมมติฐานการรายงาน
- ไม่มี-
ขอบเขตการรายงาน
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการรายงานผลการดำเนินการรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และลูกจ้าง จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 90 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน และลูกจ้าง จำนวน 12 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับประชากร รวมทั้งสิ้นจำนวน 90 คน
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
2.1 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 องค์ประกอบ
2.1.1 การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2.1.2 ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี
2.1.3 ด้านการจัดทำโครงงาน
2.1.4 การจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม
3. ขอบเขตด้านกิจกรรมที่ดำเนินการ
3.1 ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ กิจกรรมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ กิจกรรม การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกและบ่อคอนกรีต กิจกรรมการออมทรัพย์ กิจกรรมบัญชีครัวเรือน
3.2 ด้านสังคม ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมผู้นำนักเรียน
3.3 กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
3.4 ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมหิ้วปิ่นโตไปวัด
4. ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 - 25 กุมภาพันธ์ 2551
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน ใช้แบบประเมินผลการเป็นแบบประเมินที่ผู้รายงานจัดทำขึ้นโดยปรับปรุงมาจากแบบประเมินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีการประเมิน 4 ด้าน แบ่งระดับการประเมินจากการปฏิบัติของโรงเรียน เป็น 5 ระดับ ตามมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert) (สมบูรณ์ สุริยวงศ์,สมจิตรา เรืองศรี และ เพ็ญศรี เศรษฐวงศ์,2543 : 116) คือ
ระดับ 5 หมายถึง ระดับการปฏิบัติมากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง ระดับการปฏิบัติมาก
ระดับ 3 หมายถึง ระดับการปฏิบัติปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง ระดับการปฏิบัติน้อย
ระดับ 1 หมายถึง ระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด
มีรายละเอียดแต่ละด้าน รวม .....ข้อย่อย ดังนี้
2.3 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 องค์ประกอบ
2.3.1 การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 4 ข้อย่อย
2.3.2 ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี จำนวน 4 ข้อย่อย
2.3.3 ด้านการจัดทำโครงการ จำนวน 4 ประเด็น ได้แก่
1. แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านเศรษฐ์กิจ 6 ข้อย่อย
2. แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านสังคม / กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ
1.ด้านศิลปะ จำนวน 3 องค์ประกอบ
2,ด้านดนตรี จำนวน 4 องค์ประกอบ
3.ด้านนาฏศิลป์ จำนวน 3 องค์ประกอบ
4.ด้านกีฬานวน 4 องค์ประกอบ
5.ด้านส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ จำนวน 1 องค์ประกอบ
3. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ข้อย่อย
4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านวัฒนธรรม จำนวน 3 ข้อย่อย
5. ด้านการจัดทำโครงงาน
6. การจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม จำนวน 4 ข้อย่อย
สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินและรายงานผลรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
ตอนที่ 1 จำนวนประชากรผู้ตอบแบบประเมินการดำเนินการรายงานระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 90 คน ได้รับแบบประเมินคืนและเป็นฉบับที่สมบูรณ์ทั้งหมด จำนวน 83 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.21 ซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ทางสถิติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)