ผลงาน

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทความสารสนเทศในยุคปฏิรูปการศึกษา

สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบันเรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกะและความสมเหตุสมผล เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ สารสนเทศที่มีคุณภาพ
ข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีคุณภาพ ทั้งในด้านความถูกต้อง มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตอบสนองผู้ใช้ได้ ทันเหตุการณ์ จึงควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
1. มีการตรวจสอบความถูกต้อง (Verifiability)
2. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
3. มีความสมบูรณ์และครอบคลุม (Comprehensiveness) เพียงพอที่จะใช้ตัดสินใจ
4. มีความชัดเจน (Clarity) ไม่ต้องตีความ แต่มีความกะทัดรัดได้ใจความ
5. มีความเกี่ยวข้องตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (Relevance)
6. มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ปรับใช้ได้ในหลายสถานการณ์
7. ใช้ได้ง่าย รวดเร็ว (Accessibility)
8. สามารถจัดระบบตั้งแต่การเตรียมข้อมูลนำเข้า การประมวลผล และนำผลรายงานในเวลาที่ทันต่อเหตุการณ์ (Timeliness)

การจัดระบบสารสนเทศ
จำแนกออกเป็น 3 ระบบ พอสรุปได้ดังนี้
1. ระบบทำด้วยมือ (Manual System)
2. ระบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi - Automation)
3. ระบบอัตโนมัติ (Full - Automation)
การจัดทำระบบสารสนเทศในสถานศึกษา มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลและ
สารสนเทศประกอบการวางแผนตัดสินใจกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตลอดจนข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นสามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาและนำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การใช้ข้อมูลและสารสนเทศของบุคลากรแต่ละระดับจึงมีลักษณะและปริมาณที่แตกต่างกันไป ในการจัดการบริการทางการศึกษาของประเทศไทยนั้น กระทำอยู่ทำกลางข้อมูลจำนวนมาก แต่ข้อมูลจำนวนมากมายเหล่านั้นไม่อาจก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใดหากไม่ได้รับการจัดระบบที่ดี และมีความเหมาะสม
1. ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
- ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับภาพรวมของโรงเรียน
- สภาพเศรษฐกิจการเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน
- สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ
- ปฏิทินปฏิบัติงานของสถานศึกษา
- ระบบเอกสารที่จำเป็นในสถานศึกษา
2 ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับเขตบริการของโรงเรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับสำมะโนนักเรียน
- ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการนักเรียนขาดแคลน เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน แบบเรียน อาหารกลางวัน
- ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและประเภทการบริการด้านสุขภาพอนามัย
- ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการแนะแนว
- ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่าง ๆ
- ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา
- ข้อมูลเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา
- สถิติการมาเรียนของนักเรียน
- จำนวนและอัตราซ้ำชั้นของนักเรียน
- จำนวนและอัตราการออกกลางคันของนักเรียน
- การจัดกิจกรรมชุมนุมของนักเรียน
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แยกเป็นรายชั้นกลุ่มสาระ
- จำนวนประชากรศึกษาในโรงเรียนทั้งหมด
- ยอดรวมของผลการสอบรายปีจำแนกตามระดับชั้น
- สื่อการเรียนการสอนประจำห้องเรียน ประจำโรงเรียน
- จำนวนและประเภทสื่อในห้องสมุด
- ลักษณะการจัดการเรียนการสอน
- ลักษณะและประเภทของการสอนซ่อมเสริม
- ลักษณะและประเภทการนิเทศภายใน
- โครงการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมทางวิชาการ
- โครงการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
- ข้อมูลตารางสอน แผนการสอน หลักสูตร
- ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยากรพิเศษ
- ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด รวมถึงการใช้ห้องสมุด
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปใช้ในหน้าที่การจัดการนั่นคือ การวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ ดังนั้นระบบข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่ดังกล่าวของผู้บริหารสถานศึกษาพอสรุปได้ดังนี้
4.1 ข้อมูลต่าง ๆ ที่โรงเรียนจะต้องรายงาน หน่วยงานต้นสังกัดเป็นประจำ
4.2 ข้อมูลในส่วนที่จะนำมาใช้ในการวางแผนของโรงเรียนเช่น
- นักเรียน แยกตามเพศ อายุ รายชั้น
- บุคลากร ครู แยกตามระดับ ตำแหน่ง วุฒิ วิชาเอก วิชาที่สอน
- วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ อาคารเรียน ขนาดของห้องเรียน
- งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร/ประเภท
- จำนวนเด็กนักเรียนในเขตบริการ
- อาชีพในท้องถิ่น วิทยากรท้องถิ่น สถานประกอบการ
- ข้อมูลด้านตลาดแรงงาน
- สภาพปัจจุบันของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ/ สังคม /กฎหมายต่าง ๆ
- ปัญหาความต้องการของโรงเรียน/ชุมชน / ท้องถิ่น ตามกรอบนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด
- ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของกระบวนการเรียนการสอน
- ข้อมูลที่แสดงระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
4.3 ข้อมูลสารสนเทศด้านการวัดและประเมินผล
- ผลการสอบเป็นรายวิชา
- จำนวนนักเรียนที่ได้ระดับคะแนนต่าง ๆ ตามรายวิชา
- การสอบแก้ตัวของนักเรียน
4.4 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินผล
4.5 เครื่องมือการวัดผลประเมินผล

แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช


รายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการรายงานเชิงประเมินในครั้งนี้ ผู้รายงานได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการรายงาน
1. เพื่อรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อนำผลจากรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปใช้ในการพัฒนา
3. เพื่อรายงานปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ในการพัฒนาต่อไป
สมมติฐานการรายงาน
- ไม่มี-
ขอบเขตการรายงาน
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการรายงานผลการดำเนินการรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และลูกจ้าง จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 90 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรายงานรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน และลูกจ้าง จำนวน 12 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับประชากร รวมทั้งสิ้นจำนวน 90 คน
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
2.1 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 องค์ประกอบ
2.1.1 การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2.1.2 ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี
2.1.3 ด้านการจัดทำโครงงาน
2.1.4 การจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม

3. ขอบเขตด้านกิจกรรมที่ดำเนินการ

3.1 ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ กิจกรรมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ กิจกรรม การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกและบ่อคอนกรีต กิจกรรมการออมทรัพย์ กิจกรรมบัญชีครัวเรือน
3.2 ด้านสังคม ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย กิจกรรมผู้นำนักเรียน
3.3 กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
3.4 ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา กิจกรรมหิ้วปิ่นโตไปวัด
4. ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2550 - 25 กุมภาพันธ์ 2551
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน ใช้แบบประเมินผลการเป็นแบบประเมินที่ผู้รายงานจัดทำขึ้นโดยปรับปรุงมาจากแบบประเมินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีการประเมิน 4 ด้าน แบ่งระดับการประเมินจากการปฏิบัติของโรงเรียน เป็น 5 ระดับ ตามมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert) (สมบูรณ์ สุริยวงศ์,สมจิตรา เรืองศรี และ เพ็ญศรี เศรษฐวงศ์,2543 : 116) คือ
ระดับ 5 หมายถึง ระดับการปฏิบัติมากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง ระดับการปฏิบัติมาก
ระดับ 3 หมายถึง ระดับการปฏิบัติปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง ระดับการปฏิบัติน้อย
ระดับ 1 หมายถึง ระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด
มีรายละเอียดแต่ละด้าน รวม .....ข้อย่อย ดังนี้
2.3 ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 องค์ประกอบ
2.3.1 การแนะแนวและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 4 ข้อย่อย
2.3.2 ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี จำนวน 4 ข้อย่อย
2.3.3 ด้านการจัดทำโครงการ จำนวน 4 ประเด็น ได้แก่
1. แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านเศรษฐ์กิจ 6 ข้อย่อย
2. แนวคิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโครงการด้านสังคม / กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 5 ประเด็นหลัก คือ
1.ด้านศิลปะ จำนวน 3 องค์ประกอบ
2,ด้านดนตรี จำนวน 4 องค์ประกอบ
3.ด้านนาฏศิลป์ จำนวน 3 องค์ประกอบ
4.ด้านกีฬานวน 4 องค์ประกอบ
5.ด้านส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ จำนวน 1 องค์ประกอบ
3. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ข้อย่อย
4. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้านวัฒนธรรม จำนวน 3 ข้อย่อย
5. ด้านการจัดทำโครงงาน
6. การจัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรม จำนวน 4 ข้อย่อย

สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินและรายงานผลรายงานแห่งเรียนรู้โดยใช้หลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
ตอนที่ 1 จำนวนประชากรผู้ตอบแบบประเมินการดำเนินการรายงานระบบดูแลนักเรียนตามหลักปรัชญาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ครูและบุคลากร จำนวน 60 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 90 คน ได้รับแบบประเมินคืนและเป็นฉบับที่สมบูรณ์ทั้งหมด จำนวน 83 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.21 ซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ทางสถิติ

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 13 "ทัศนศึกษาดูงาน"


ใบงานที่ 13 "ทัศนศึกษาดูงาน"
0 ความคิดเห็น เขียนโดย นายสิวาวุธ สุทธิ
ประสบการณ์จากการทัศนศึกษาดูงาน
โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
“นครศรีธรรมราช-ลาว” 17-22 มกราคม 2553
นักศึกษา ป.บัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา พร้อมกัน ณ ศาลาประดู่หก อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช
เริ่มออกเดินทางเวลา08.00 น.
บรรยากาศระหว่างการเดินทางอบอวลไปด้วยเสียงเพลง มิตรภาพ รอยยิ้ม ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน พี่กับน้อง น้องกับพี่ เพื่อนกับเพื่อน ศิษย์กับครู ล้วนเกิดความรัก ความผูกพัน ความสมัครสมาน สามัคคี เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากประสบการณ์ทางความรู้สึกที่ยากจะบรรยายเป็นตัวอักษรแล้ว ประสบการณ์ทางโลกทั้งในส่วนของงานทางด้านการศึกษา ประสบการณ์ด้านการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้างก็ยังเปี่ยมล้นไปด้วยคุณค่า ซึ่งพอจะสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.ประสบการณ์จากการศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนอนุบาลหนองคาย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2510 สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา เดิมตั้งอยู่ที่ ต.มีชัย อ.เมือง จ.หนองคาย มีเนื้อที่ 8 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ได้ย้ายออกมาตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการเลขที่ 239 ม.1 บ้านดอนดู่ ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย
การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคายครั้งนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากผู้อำนวยการนายสัมฤทธิ์ เจริญดี และคณะครูที่มาต้อนรับ พวกเราได้รับความรู้ด้านต่างๆ จากโรงเรียนอนุบาลหนองคาย เนื่องจากโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพด้านต่างๆ คือ
1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา
2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. โรงเรียนวิถีพุทธ
6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ
7. โรงเรียนดีศรีหนองคาย
ซึ่งในการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ผู้บริหารได้มาต้อนรับและทำการบรรยายถึงยุทธวิธีการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ

2.แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมบริบทของประเทศลาว
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีนลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน (ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง) ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายบัวสอน บุบผาวัน
ประเทศลาวใช้ภาษาลาวเป็นภาษาราชการทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของงตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังคงใช้ในวงราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า ซึ่งนับวันการศึกษาภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับอัตราการรู้หนังสือของลาวนั้น ประชากรเพศชายรู้หนังสือร้อยละ 67 หญิงร้อยละ 43 เมื่อคิดเฉลี่ยรวมทั้งสองเพศแล้วปรากฏว่าประเทศลาวมีอัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 56 ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น
ชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ความเจริญก้าวหน้ายังล้าหลังกว่าประเทศไทย คนลาวมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเรียบง่ายและ คนลาวสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

3.ดูงานหมู่บ้านงูจงอางได้อะไรบ้าง
การศึกษาดูงานที่หมู่บ้านงูจงอาง ที่บ้านโคกสง่า ตำบลทรายมูล ได้ร่วมดูการแสดงคนกับงูจงอาจ ซึ่งเป็นการแสดงที่ค่อนข้างอันตรายคนที่ไม่มีประสบการณ์จะลองทำไม่ได้ วิถีชีวิตคนที่นั้นยังเป็นสังคมชนบทอยู่มาก มีการหาสมุนไพรมาขาย และได้รับการต้อนรับที่ดีจากชุมชนที่นั้น

4.ดูงานที่จังหวัดเพชรบุรีได้อะไรบ้าง
การศึกษาดูงานที่จังหวัดเพชรบุรี ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้เข้าพักบ้านพักและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน


ผมสิวาวุธ สุทธิประทับใจที่ได้มีโอกาสได้เดินทางและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับคณะคณาจารย์ และเพื่อน พี่ ป.บัณฑิตการบริหารการศึกษาทุกคน

ใบงานที่14 blog กับ Go to Know



วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 14 blog กับ Go to Know
จุดเด่นของ blog


- เป็นเวปบล็อกที่ให้พื้นที่ในการทำงาน เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ฟรี
- เป็นแหล่งข้อมูลด้านต่างๆ ที่ทันสมัยก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกไร้พรมแดน
- เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวกับธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวและแลกเปลี่ยน
- มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำเวปที่น่าสนใจและอัพเดตใหม่ๆๆ
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเว็ปบล็อก
- เป็นคลังข้อมูลของตนเองเพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ และแชร์ประสบการณ์ต่างๆ
- เป็นสื่อ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการ
- เป็นแหล่งในการค้นคว้าหาข้อมูลและอัปเดทข้อมูลได้ตลอดตามความต้องการ
- ส่งเสริมการใช้สื่อที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการตกแต่งมัลติมีเดียต่างๆ เข้าด้วยกัน
- เป็นเวปบล็อกที่น่าสนใจใช้งานหลากหลายสไตล์ตามความต้องการ
- ส่งเสริม และพัฒนาทักษะความสามารถในการสร้างแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองบนโลกไซเบอร์

จุดด้อยของ blog
- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระมากเกินไป
- เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ข่าวโคมลอย หรือข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริงได้

- เวปฟรีมีโอกาสถูกยกเลิกได้ตลอดเวลา
- ขาดการควบคุม ดูแลจากเซิฟร์เวอร์ ในกรณีที่โพสต์ข้อความ หรือสื่อที่ไม่เหมาะสม
- บทความขาดความเชื่อถือไม่ได้คัดกรองก่อนจะลงเวปบล็อก
- เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ออกแบบเวปสมัครเล่น ไม่เหมาะสมกับผู้ที่เขียนเวปโดยใช้ภาษา html หลายๆ ภาษา เพราะ Code เป็นภาษา html


ความแตกต่างระหว่าง blogspot และ go to khow

1. การตกแต่งบล็อก blogspot มีความหลากหลาย ออกแบบได้อย่างสร้างสรรค์ แต่ Go to khow รูปแบบเรียบง่าย
2. ด้านอาชีพ ของ blogspot อิสระทั่วไป แต่ Go to khow ข้าราชการส่วนมาก
3. ลักษณะข้อมูล blogspot งานข้อมูล โพสต์ทั่วไป แต่ Go to khow แหล่วงรวบรวมข้อมูลงานวิชาการ
4.ตำแหน่ง / ที่อยู่ blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น แต่ Go to khow จะปรากฏใน blog กลางด้วย
5. การควบคุมดูแล blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ แต่ Go to khow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง
6. การประเมินการเขียนblogspot ไม่มีการประเมิน แต่ Go to khow มีการประเมินการเขียน

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่8 สรุปการใช้โปรแกรม SPSS OF WINDOWS

1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) หมายถึงตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
2.ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวาเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิก ทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ถ้าครุผู้สอนต้องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ซึ่งนักเรียนมีจำนวนมาก ครูผู้สอนในฐานะนักวิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากร(นักเรียนชั้น ม.2)ทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกนักเรียนชั้น ม.2 มาบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น โดยใช้ตารางเลขสุ่ม หรือคำนวนด้วยสูตรอื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมดได้
4. มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด-สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์ มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)-เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้-สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอกถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์มาตรอันตรภาค (Interval Scale)-เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)-สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)-เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์ที่แท้จริง-สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท
5. ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรเหตุ เป็นตัวแปรที่มาก่อน เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง มีลักษณะเป็นตัวทำนาย เป็นตัวกระตุ้นหรือ มีความคงทน ถาวรตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง เป็นตัวถูกทำนาย เป็นตัวตอบสนอง เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตัวอย่าง เช่น การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 โดยใช้การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาตัวแปรต้น คือ การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ6.สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไปT-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11 ความรู้สึกต่ออาจารย์ผู้สอน


ความรู้สึกของกระผม และความคิดเห็นเกี่ยวกับครูผู้สอนในการเรียนครั้งนี้มีความเห็นว่าอาจารย์มีการเตรียมการสอนและตั้งใจให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่ สอนเต็มเนื้อหา และเต็มเวลา สามารถให้นักศึกษากลับไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้ ทำให้มีความรู้เพิ่มเติมขึ้น อีกทั้งเรื่องเทคโนโลยีและเนื้อหาที่อาจารย์สอน นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บ่งบอกได้ว่านักศึกษาที่ได้เรียนวิชานี้มีความเป็นผู้ทันสมัยทางเทคโนโลยี อันเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นผู้บริหารมืออาชีพต่อไป ขอให้อาจารย์สอนด้วยความสนุกสนานและตั้งใจแบบนี้สืบต่อไป เพื่อก้าวหน้าทางการศึกษา ขอบคุณที่ได้เรียนวิชานี้ ขอบคุณมากๆๆๆๆๆ ครับ ...สิวาวุธ สุทธิ
รหัสประจำตัว 5246701007

ใบงานที่ 10 ประวัติส่วนตัว


นายสิวาวุธ สุทธิ อาชีพ ข้าราชการครู

เกิดวันอังคารที่ 22 ก.ค.2518

ภูมิลำเนา นครศรีธรรมราช

บิดา รศ.ดร.สุชาติ สุทธิ รับราชการครู สกอ.

มารดา นางวิชชุตา ชุ่มชื่น รับราชการครู สพฐ.

ประสบการด้านการศึกษา

ปริญญาโท สาขามานุษยดุริยางควิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร
ประกาศนียบัตร วิชาการการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ปริญญาตรี สาขาดนตรีศึกษา / เปียโนระดับสูง
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

ประสบการณ์ด้านการบริหารการศึกษา
1. รักษาราชการแทนตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มการบริหารวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล หัวหน้างานควบคุมภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านควนไทรงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2547 - 2550 รวมเวลา 4 ปี

2. หัวหน้างานเทคโนโลยี นวัตกรรม สื่อและแหล่งเรียนรู้ และหัวหน้างานการส่งเสริมประชาธิปไตย ในโรงเรียน สังกัดโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี2550 ถึงปัจจุบันรวมเวลา 1 ปี

ประสบการณ์ด้านการสอนระดับประถมและมัธยมศึกษา
(ปัจจุบัน)
1. ครูสายผู้สอน ตำแหน่งครู อันดับ คศ.1 ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (วิชาดนตรี)
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
(อดีต)
1. ครูสายผู้สอน ตำแหน่งครู อันดับ คศ.1 ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนบ้านควนไทรงาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2547 - 2550
2. ครูสายผู้สอน ประจำกลุ่มกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ โรงเรียนสารสาส์วิทยา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2542
3. อาจารย์ประจำ สอนวิชาเปียโน ระดับต้น ถึงระดับสูง สังกัดบริษัทสยามกลการ ประจำโรงเรียนสอนดนตรีสยามห้างเดอมอล (สาขาบางแค) ปี 2537 - 2542 รวมระยะเวลา 5 ปี
ระดับปริญญาตรี
1. อาจารย์ประจำ โปรแกรมวิชาดนตรีสากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ ดำเนินการสอนวิชาสุนทรียภาพแห่งชีวิต แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 / 2546
2. นักวิชาการทำฐานข้อมูล ด้านศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ประจำสำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 2 / 2546
3. อาจารย์ผู้สอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำโปรแกรมวิชาดนตรี คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา 2543 - 2545 ระยะเวลา 3 ปี
4. อาจารย์พิเศษ โปรแกรมวิชาดนตรีสากล คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหหานคร ปี 2541
ประสบการณ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
1. เป็นบุคลากรพิเศษที่ได้รับการคัดเลือกปฏิบัติโครงการเปิดสอนศิลปะดุษฏีบัณฑิตวิจิตรศิลป์ (สาขาดนตรี) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี 2548
ผลงานวิชาการและประสบการณ์การเป็นวิทยากร
2. เป็นวิทยากรดำเนินโครงการพัฒนาศัยภาพนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (ฐานดนตรี)
แก่ นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ และบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ระหว่างวันที่ 4 – 5 สิงหาคม 2551 ณ โรงเรียนบ้านคอกช้าง
3. ผู้ที่มีผลงานที่แสดงถึงวิธีปฏิบัติที่ดี (good Practice) ที่นำเสนอในงาน
Educational Innovation Symposium 2007 : form Strategy to Quality of Learners ประจำเขตตรวจราชการที่ 15 ตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง ได้รับการคัดเลือกและนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2550
4. เป็นวิทยากรประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง บรรยายพิเศษและสาธิตนวัตกรรม เชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แก่เด็กพิเศษ ที่บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในวันที่18 - 20 กันยายน 2550 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๘ จังหวัดระนอง
5. ครูดีเด่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ของกลุ่มพัฒนาการศึกษาที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง ประจำปี 2548
6. เป็นวิทยากร จัดทำหลักสูตร สถานศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวรชายแดน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) สำหรับอาจารย์สถาบันราชภัฎทั่วประเทศที่รับผิดชอบโรงเรียนตำรวจตระเวรชายแดน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2547
7. เป็นอาจารย์ ประจำโครงการพัฒนาครูและผู้บริหารประจำการ ให้ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา และประกาสนียบัตรบัณฑิตการบริหารการศึกษา โดยร่วมจัดการเรียนรู้ ในชุดกิจกรรมดนตรี และการแสดงสำหรับครูประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2547 ภาคเรียนที่ 2 / 2546
8. บุคลกรผู้ออกแบบสื่อการสอนและแบบเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์การค้าครุสภา ปี 2543
9. บุคลากรผู้ได้รับการคัดเลือก ดำเนินการออกแบบจัดทำหนังสือการเรียนรู้ระดับ 7 - 12 ตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ของบริษัท คู่สร้างคู่สม (ประเทศไทย) จำกัด ประจำปี 2540
ความสามารถด้านวิชาการที่หน่วยทางราชการขอความช่วยเหลือ
1. ได้รับการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็น คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 1/ 2548 วิชาเอกดนตรีศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง สพฐ.
ผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่
1. หัวข้อวิจัยเรื่อง การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์กล้ามเนื้อมือ ประสานสัมพันธ์กับสายตา โดยใช้กิจกรรมดนตรี นักเรียนปฐมวัยโรงรียนบ้านควนไทรงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง ประจำปีการศึกาษา 2549
2. หัวข้อวิจัยเรื่อง การใช้แบบฝึกเพื่อแก้ไขและพัฒนาทักษะการขับร้องเพลงชาติไทย นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนบ้านควนไทรงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง ประจำปีการศึกษา
2548